วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่สี่ 26/11/2556


      Download โปรแกรม Python Download จะต้องใช้ควบคู่กับโปรแกรม Fontlab 

      อาจารย์ได้อธิบายการแก้ไข การจัดหน้าบล็อก การใส่สีตัวอักษรให้สวยงาม ปรับตัวอักษร (แปลข่าว) การใส่เลขที่หน้าจัดให้เสมอกัน (จัดตัวอักษร) การย่อหน้า 
      
   ตัวอย่างตัวอักษรที่อาจารย์ได้ออกแบบไว้เป็นตัวอย่าง ขั้นแรกเราต้องร่างแบบลงในสมุดกราฟก่อนแล้วถ่ายรูปเพื่อนำไปดราฟในโปรแกรม Allustrator ซึ่งตัวอักษรต้องมีความเหมือนกันทั้งหมด ในเวลาขึ้นแบบต้องมี Guide เสมอ ในการออกแบบตัวอักษรจะมี Shape ดึง Guide ออกมาแล้วค่อยหาสัดส่วน เวลาทำงานเราจะได้ Master เอาไว้

การออกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษต้องเอาตัว U เป็นตัวตั้งและภาษาไทยจะต้องเอา บ เป็นตัวตั้ง

  ให้ไปศึกษาหลักการออกแบบที่ถูกต้องและเข้าไปศึกษาที่เว็บ http://thaifont.info/ ดูสัดส่วนในการออกแบบ Font แบบ Serif และ Sans Serif นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าไป Search ใน Google เป็นตัวอย่างได้

      อาจารย์ได้ตรวจงานออกแบบฟ้อนต์กลุ่มและเมื่อเวลาการส่งงานไปที่ไดร์ฟจะต้องเป็นไฟล์ Ai เท่านั้น ไม่ใช่ Jpg. ให้ไปแก้ไขงาน โดยภายในกลุ่มจะต้องแบ่งงาน แบ่งหน้าที่กัน แบ่งความรับผิดชอบกันตามประเภทฟ้อนต์ คือ Serif และ Sans Serif ว่าภายในกลุ่มใครจะทำประเภทไหน จากนั้นโพสต์ลงในบล็อกกลุ่มให้เรียบร้อย

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่สาม 19/11/2556


ในการส่งงานไปที่ไดรฟ์จะต้องพิมพ์ชื่อวิชาตามด้วยชื่อของเราเอง ควรใช้ชื่อตามที่อยู่อีเมลล์
อาจารย์ได้วิจารณ์งานที่ได้รับมอบหมายในการออกแบบฟ้อนต์หัวข้อ "ก ชวนอวดอักษรไทยให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv" 

งานที่ได้รับมอบหมาย

      - แบ่งกลุ่มละ 5 คน แล้วตั้งชื่อกลุ่ม สร้างตัวอักษรขึ้นมา สร้างกลุ่มเพื่อคุยกันปรึกษากันในการทำงานหัวข้อ "Gift on the moon 2013" ให้ทำของขายหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฟ้อนต์ (ส่วนประกอบจะต้องเกี่ยวกับฟ้อนต์เป็นส่วนใหญ่) อาจารย์จะมีคะแนนให้ 15 แต้ม
      - ตั้งชื่อร้านที่จะผลิตของขายในงานด้วย
      - ตั้งชื่อกลุ่ม (ชื่อเดียวกับร้าน) ออกแบบร้านให้สวยงาม อาจารย์จะเดินตรวจงานในแต่ละวันที่จัดงาน
      - ออกแบบโลโก้หรือสัญลักษณ์ของกลุ่ม ส่งความก้าวหน้าในเว็บบล็อกทุกสัปดาห์ เพราะอาจารย์จะติดตามงานของกลุ่มว่าทำไปถึงไหนกันแล้ว
      - สร้างเว็บบล็อกกลุ่มขึ้นมาให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เมื่อตั้งชื่อกลุ่มและมีโลโก้แล้ว

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้

      - ให้ออกแบบตัวอักษร 3 แบบ คือ แบบมีหัว แบบไม่มีหัวและออกแบบในสไตล์ของเราเอง
      - ออกแบบตาม concept ของเรา ร่างลงในสมุดกราฟแล้วนำไปออกแบบในโปรแกรม Ai แล้วอัพลงเว็บบล็อกกลุ่มที่ตั้งขึ้นมา ส่ง 12.00 น.

ออกแบบฟอนต์ "ก ชวนอวดอักษรไทยให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv"


         ผลงานการออกแบบฟอนต์ในหัวข้อ "ก ชวนอวดอักษรไทยให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv" เป็นหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้เป็นการบ้านตั้งแต่วันที่ 12/11/2556 

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่สอง 12/11/2556

อาจารย์ได้อธิบายและให้ไปศึกษาเกี่ยวกับรูปภาพ การเขียนบล็อกอย่างถูกต้อง การปรับและแก้ไขบล็อกให้น่าสนใจและสวยงาม อย่างเช่น ศึกษาเกี่ยวกับการ Design การตั้งค่า รูปแบบ Blogger Template (ศึกษาเกี่ยวกับการตั้งค่าบล็อก) การแชร์โพสต์ไปให้เพื่อนๆ หรืออาจจะแชร์ไปยัง Social ต่างๆ อีกมากมายและการโพสต์ข้อมูลลงบนบล็อกของตัวเอง ซึ่งจะต้องเรียนรู้ได้ด้วยตนเองไม่ใช่ Copy ต้นแบบมาทั้งหมด อาจจะมีแทรกความรู้ความเข้าใจของเราลงไปด้วย

ได้มีการสมัครเรียนที่ระบบ E-learning แล้วสอบ Pre-test ในรายวิชาARTD2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ และบอกผลการสอบให้อาจารย์

การบ้านที่ได้รับมอบหมาย คือ ออกแบบ Font ขนาด size A3 ด้วยโปรแกรม Illustrator ขนาดตัวอักษรแล้วแต่จะทำ ทำแบบไหนก็ได้แล้วปริ้นท์งานลงกระดาษขนาด A4 โดยใช้ข้อความดังตัวอย่าง


อาทิตย์หน้าให้เตรียมสมุดกราฟและดินสอ 2B มาด้วย

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลอาจารย์ประชิด ทิณบุตร
ขอบคุณผลงานตัวอย่างจากรุ่นพี่ https://plus.google.com/u/0/112713543873447522774/posts

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แปลบทความเกี่ยวกับฟ้อนต์

In traditional typography, a font is a particular size, weight and style of a typeface. Each font was a matched set of metal type, one piece (called a "sort") for each glyph, and a typeface comprised a range of fonts that shared an overall design.
In modern usage, with the advent of digital typography, "font" is frequently synonymous with "typeface". In particular, the use of "vector" or "outline" fonts means that different sizes of a typeface can be dynamically generated from one design. Each style may still be in a separate "font file"—for instance, the typeface "Bulmer" may include the fonts "Bulmer roman", "Bulmer italic", "Bulmer bold" and "Bulmer extended"—but the term "font" might be applied either to one of these alone or to the whole typeface.

แปลบทความ
บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหมายดั้งเดิมของ "ตัวอักษร" สำหรับไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ดูที่ตัวอักษรคอมพิวเตอร์ สำหรับความหมายอื่นดูได้จากแบบอักษร (disambiguation)ในการพิมพ์แบบดั้งเดิมตัวอักษรมีขนาดน้ำหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งและรูปแบบของตัวอักษร แต่ละตัวอักษรเป็นชุดที่ตรงกับประเภทโลหะชิ้นเดียว (เรียกว่าเรียง "") สำหรับแต่ละ glyph และอักษรประกอบด้วยช่วงของแบบอักษรที่ใช้ร่วมกันออกแบบโดยรวมในปัจจุบันการใช้กับการถือกำเนิดของการพิมพ์ดิจิตอลที่ "ตัวอักษร" มักตรงกันกับ "ตัวอักษร" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ "เวกเตอร์" หรือแบบอักษร "ร่าง" หมายความว่าขนาดแตกต่างกันของตัวอักษรที่สามารถสร้างแบบไดนามิกจากการออกแบบ แต่ละรูปแบบก็ยังอาจจะอยู่ในแยกไฟล์ "ตัวอักษร" ตัวอย่างเช่นตัวอักษร "บัลเมอร์" อาจรวมถึงอักษร "บัลเมอร์โรมัน", "ตัวเอียงบัลเมอร์", "บัลเมอร์ที่เป็นตัวหนา" และ "บัลเมอร์ขยาย" แต่ตัวอักษร "ระยะ "อาจจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Font คืออะไร

คำว่า “Typeface” และคำว่า “Font” หลายๆ คนมักใช้ผิดๆ ถูกๆ อยู่ครับ แม้แต่บทความหรือตามเว็บไซต์ดังๆ ก็ยังพบว่ามีการใช้ 2 คำนี้แบบผิดๆ อยู่ บทความนี้จะอธิบายความหมายและความแตกต่างของ 2 คำนี้ รวมไปถึงที่มา ลองมาดูซิว่าคุณใช้ 2 คำนี้ถูกหรือเปล่า?

Typeface vs Font

Typeface คือแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” นั่นเองครับ ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ครับ ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”
พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)” และ “ความเอียง(font-style)” นั่นเองครับ

ที่มาของคำว่า “Font”

หลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บางคนอาจเข้าใจมาตลอดว่า font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมันครับ “font” มาจากคำว่า “fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font” จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น

fount
Font หรือ “Fount” ในสมัยก่อนทำมาจากโลหะหรือไม้

รู้จักกับ Glyph ใน Typeface

ขึ้นชื่อว่าเป็น typeface จะต้องมี “Glyph” ครับ เพราะมันก็คือ “อักขระ” ที่ใช้แทน ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ นั่นเอง บาง typeface อาจรองรับหลายภาษาด้วยกัน จึงทำให้มี glyph อยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีกระบวนการ “Subsetting” เกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือการตัด glyph ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อลดขนาดของ font file ให้เล็กลงนั่นเอง

Typeface แบบ Serif กับ Sans-Serif ต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “Serif” กันมาตั้งแต่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้ความหมายของมัน คำว่า “Serif” ก็คือ “การเล่นหาง” นั่นเองครับ typeface ใดก็ตามที่เป็นแบบ serif ก็หมายความว่า ทุกๆ glyph จะมีการตวัดหาง ไม่ได้จบแบบห้วนๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ typeface แบบ “Sans-serif” ที่จะไม่มีการเล่นหางใดๆ ทั้งสิ้น (คำว่า “sans” มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า “ไม่มี”)
จากการสำรวจ พบว่า typeface แบบ serif นั้นจะอ่านได้ง่ายกว่าหากใช้กับข้อความยาวๆ ซึ่งนี้เอง เป็นสาเหตุที่สื่อสิ่งพิมพ์นิยมใช้ typeface แบบนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ typeface แบบ sans-serif กลับได้รับความนิยมมากกว่าบนเว็บไซต์ เนื่องจากการเล่นหางของ serif นั้น อาจทำให้อ่านได้ยากขึ้น หากดูด้วยหน้าจอที่มีความละเอียดไม่สูงนัก

serif vs san-serif typeface

รู้จักกับ Typeface แบบ Proportional และ Monospaced

typeface แบบ “Proportional” จะมีความกว้างของ glyph ที่แตกต่างกันออกไป เช่น glyph ที่ใช้แทนตัว “i” กับ “w” จะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงข้ามกับ typeface แบบ “Monospaced” ซึ่งแต่ละ glyph จะมีความกว้างเท่ากันเสมอ
โดย ทั่วไปแล้ว typeface แบบ proportional นั้นจะดูสวยงาม และอ่านง่ายกว่า ซึ่งเรามักจะพบเห็น typeface แบบนี้ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึง GUI ของ application ต่างๆ
แต่ typeface แบบ monospaced ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลย ด้วยลักษณะที่ทุกๆ glyph มีความกว้างเท่ากันหมด จึงนิยมนำ typeface แบบนี้มาใช้กับ เครื่องพิมพ์ดีด, หน้าจอที่แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษร(เช่น นาฬิกาดิจิตอล) รวมไปถึง หน้าจอ Terminal เป็นต้น

proportional vs monospaced typeface

แล้วทำไมต้องมี Font ?

สาเหตุที่ใน typeface เดียวกัน ต้องแบ่งออกเป็น fonts ต่างๆ ก็เพื่อ “Readability” นั่นเองครับ ในหน้าเดียวกัน เราอาจใช้ typeface เพียงแบบเดียว แต่อาจเลือกใช้ fonts หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับเนื้อหาในแต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็น header, article, aside, footer เป็นต้น
fonts แต่ละแบบจะแตกต่างกันในเรื่องของ ความหนา ความกว้าง และความเอียง ซึ่งถ้าทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นค่าปกติทั้งหมด เราจะเรียก font นั้นว่า “Roman” หรือ “Regular” ส่วน font ที่ไม่ใช่ Roman จะเกิดได้ 2 กรณีด้วยกันคือ รูปแบบเหล่านั้น ถูกใส่เข้ามาใน font file(เช่น font “Helvetica Condensed Bold Italic”) หรือ รูปแบบนั้น ถูก render ด้วย “Algorithm” ของ web browser(เช่น font “Helvetica” + font-weight:bold)
ตาม specification ของ CSS3 หากรูปแบบที่เรากำหนดนั้น มีอยู่ใน font file แล้ว web browser จะใช้ font นั้นในการแสดงผลทันที แต่ถ้าไม่พบ web browser จะ “สังเคราะห์” font นั้นๆ ขึ้นมาจาก Roman หรือ Regular ของ typeface นั้นๆ ซึ่ง font ที่ได้ อาจไม่สวยงามเท่า เพราะสร้างมาจากการคำนวณ ตัวอย่างเช่น เราต้องการแสดงผล typeface “Helvetica” แบบตัวหนา ถ้าเรามี font “Helvetica Bold” ตัวอักษรที่แสดงผลจะสวยงาม สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าเราไม่มี แล้วเราใช้ font “Helvetica” แทน web browser จะ render โดยการเพิ่ม outline ให้หนาขึ้น เพื่อให้ตัวอักษรที่ออกมาดูหนาขึ้นนั่นเองครับ

font synthesis comparison
ถ้าสังเกตุดีๆ จะเห็นว่า font แท้ๆ จะคมชัดกว่า font ที่สังเคราะห์ขึ้นด้วย algorithm

บทสรุปของ Typeface vs Font

Typeface คือแบบอักษรที่ Designer ได้ออกแบบขึ้นมา ส่วน Font คือ Typeface ที่มีความต่างกันในเรื่องของความหนา ความกว้าง และความเอียง

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์แรก 5/11/2556

เข้าไปที่เว็บไซต์อาจารย์ โดยเข้าที่ google.com แล้วพิมพ์ typefacesdesign.com เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์แล้วจะมีกิจกรรมการเรียนการสอนและข่าวสารต่างๆ และสามารถค้นหาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

กิจกรรมการเรียนการสอนเปิดเทอมวันแรก 2/2556 วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

ยินดีต้อนรับนักศึกษาทุกคน เข้าสู่เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้แบบออนไลน์
กิจกรรมการเรียนการสอนเปิดเทอมวันแรก 2/2556 วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์
กลุ่มเรียน ภาคปกติ กลุ่ม 101, 102 และภาคนอกเวลา กลุ่ม 201 เรียนวันอังคาร ห้องกราฟิก2 อาคาร 32 ห้อง 32-505 ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร
กิจกรรมที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 12 พ.ย.นี้ ได้แก่
1.คลิกเข้าร่วมเว็บไซต์นี้เพื่อรับทราบข่าวสารจากผู้สอน โดยคลิกเข้าร่วมเว็บไซต์นี้จากเมนูด้านข้างและเข้าอ่านเอกสาร มคอ.3 อาทิคำอธิบายรายวิชา เนื้อหากิจกรรม ระเบียบการประเมินผล วิธีการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ มคอ.3 จากเมนู มคอ ด้านบน
2.กรอกข้อมูลส่วนตัวเช่นอีเมลของ gmail.com เท่านั้น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว ในแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน คลิกเข้าทำที่นี่ ตามกลุ่มเรียนและรายชื่อ
3.เข้าตอบแบบสอบถามฉบับที่ 1.แบบ สำรวจศักยภาพและความพึงพอใจของผู้เรียน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ. ภาคเรียนที่2/2556
4.การ เรียนรู้ด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะไอซีที โดยให้ผู้เรียนทุกคนสร้างเว็บบล็อกส่วนตัวเพื่อบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชา โดยใช้ blogger Host ที่ blogspot.com โดยตั้งชื่อตามนี้คือ artd2304-ชื่อจริงภาษาอังกฤษ.blogspot.com จัดหน้าเว็บบล็อก 2 คอลัมน์ เหมือนกับเว็บบล็อกรายวิชานี้และเริ่มบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้นับแต่ สัปดาห์แรกนี้เป็นต้นไป แล้วแจ้งชื่อ URL:address ไว้ในแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน
5.สมัครเป็นสมาชิกใหม่ของระบบอีเลิร์นนิ่งที่ เมนู E-Learning ด้านบน โดยให้ศึกษาวิธีการด้วยตนเอง
-สมัครเป็นสมาชิกระบบก่อน(สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นสมาชิก)ผู้ที่เป็นสมาชิกแล้วให้ตรวจสอบรหัสเข้าระบบให้เรียบร้อยและ..
-ให้สมัครเข้าเรียนในรายวิชา artd2304  ให้เรียบร้อย โดยจะมีการสอบ pretest ในวันที่ 11 พ.ย.นี้

ขอบคุณสำหรับข้อมูลอาจารย์ประชิด ทิณบุตรhttp://typefacesdesign.blogspot.com/