วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปิดคอร์สวิชา ช่วยกันตอบด้วยว่า เรียนแล้วได้อะไรบ้าง จงอธิบายโพสต์ตอบต่อท้ายโพสต์นี้


เรียนจนจบภาคเรียนที่ 2/2556 แล้ว นักศึกษาได้ความรู้และประสบการณ์อะไรบ้าง จงตอบโดยแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์นี้ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ ให้ครบถ้วน

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ตอบ ตรงต่อเวลา ขยันและมีความรับผิดชอบในการทำงาน
2.ด้านความรู้
ตอบ ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการออกแบบตัวอักษรด้วยโปรแกรม Fontlab
3.ด้านปัญญา
ตอบ มีความเอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ตอบ ได้ทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันกับเพื่อน รับผิดชอบงานและวางแผนร่วมกัน
5.ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ คิดวิเคราะห์และสรุปผล สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ด้านทักษะวิชาชีพ
ตอบ สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพ
7.ดังหลักฐานแสดงคือ
นางสาวธัญชนก ถองทอง กลุ่มเรียน 102
1.เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ ชื่อที่อยู่ URL.......http://artd2304thanchanok.blogspot.com/
2.ได้สรุปเล่มรายงานผลการออกแบบสร้างสรรค์และพัฒนาแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์เผยแพร่ออนไลน์เป็นหนังสือออนไลน์โดยแสดงไว้ที่เว็บไซต์กลุ่มที่ http://issuu.com/groups/typography เชื่อมโยงเข้าอ่านเอกสารโดยตรงได้ตามที่อยู่ URL เอกสารโดยตรงตามลิงค์คือ.......
3.ได้สร้างฟ้อนต์เองชื่อ CRU Lanchand 56 Thanchanok โดยนำไฟล์ฟ้อนต์ภายใต้ชื่อลิขสิทธิ์ฟ้อนต์ตระกูล ซีอาร์ยู (CRU-Font Family) โดยส่งเผยแพร่แล้วที่บอร์ดตนเองที่ www.interest.com/..... โดยสามารถเข้าถึงได้ตามที่อยู่ URL Link โดยตรงคือ.......... และใช้คำสืบค้น Tag คือคำว่า.....

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่เจ็ด 07/01/2557


        เรื่องการทำฟอนต์ อาจารย์ได้อธิบายในสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว อาจารย์ยังได้อธิบายเรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์และไดมีการสอบกลางภาคด้วยระบบออนไลน์ E-Learning เมื่อสอบเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้สอนวิธีการนำเข้าฟอนต์ อาจารย์ได้เดินตรวจงานทีละคนและได้สั่งการบ้านให้ไปทำคือ
        - ให้ไปคิดว่าจะทำอะไรขายในงาน Gift on the moon 2014
        - งาน Gift on the moon 2014 ต้องมีบอร์ดอย่างน้อยคนละ 2 ชิ้น
        - ให้ไปแก้งานฟอนต์ที่ทำในโปรแกรม llustrator ส่งงานหมดเขตวันที่ 10/02/2557 ส่งไฟล์งานเป็นไฟล์ fontlab ทำมาให้ครบทุกตัว Save As เป็นชื่อตัวเองนำหน้าและให้ทำรายงานขั้นตอนการทำด้วย โดยกด PrntScr มาอย่างน้อย 16 หน้า

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่หก 17/12/2556


       อาจารย์ได้อธิบายงานฟอนต์ เวลาที่อาจารย์ตรวจงานนั้นจะดูที่เส้น Guide ต้องยึดตัวอักษรไว้ เราต้องคิดวางแผนจะทำอย่างไรให้งานเสร็จเร็วขึ้น วิธีการคิดการทำแบบไหน อาจจะใช้เครื่องมือเข้าช่วย อย่างเช่น วาดวงกลม (Ellipse Tool) มาออกแบบวาดตัว O ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการเรียนรู้แล้วค่อยปรับเปลี่ยน

        ในการดราฟฟอนต์นั้นหลังจากที่ดราฟไว้เสร็จแล้ว จะต้องคลิก Object - Path - Outlines Stroke เวลาเช็คงานให้เส้นอยู่ที่ขนาดบางที่สุด คือ 0.001 pt เมื่อตรวจเช็คดูแล้วเส้นไม่ตรงก็ควรปรับให้สวยงาม เวลานำเข้าต้องรู้ว่าความสูงของตัวอักษรบางไปก็ปรับให้หนาขึ้นตามสมควร โดยเปลี่ยนขนาดที่ Stroke

        การเปิดใช้งานโปรแกรม Fontlab คือ File - New - เลือกCRU-Lanchand 56 โดยใช้ฟอนต์ของอาจารย์ในการทำงานฟอนต์ไทยและอังกฤษ (ดาวน์โหลดฟอนต์ให้เข้าไปที่ http://www.chandrakasem.info/) ให้เอาอักขระมาใส่ใน fontlab โดยเปิดในโปรแกรม Allustrator เอามาใส่เรียงตามลำดับ เช่น copy ตัว A ใน Allustrator มาวางลงใน fontlab ทำให้ครบทุกตัวทั้งไทยและอังกฤษ

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดราฟโครงสร้างตัวอักษร Font CRU-Lanchand


      แก้ไขการดราฟฟ้อนต์เพิ่มเติมจากฟ้อนต์ CRU-Lanchand โดยใช้ Brush และ Stroke ปรับแต่งโครงสร้างตัวอักษรให้สวยงามมา 5 แบบ 

แบบ Font-Lanchand 5 แบบ

Arrow 4, Arrow 27 - Dashed Line (แบบที่ 1)

Brush Charcoal - Stroke Bevel Join (แบบที่ 2)

Brush Palette Knife - Stroke Round Cap (แบบที่ 3)

Brush Dashed Squares1.3 2 - Stroke Projecting Cap, Round Join (แบบที่ 4)

Brush Watercolor Stroke4 - Stroke Projecting Cap (แบบที่ 5)

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ห้า 3/12/2556


อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำในห้องเรียน โดยให้ดราฟตัวอักษรภาษาไทยและอาจารย์ได้ตรวจงานและให้นักศึกษาออกมานำเสนอการแปลข่าวหรือบทความที่หน้าชั้นเรียนแล้วอาจารย์ได้อธิบายฟ้อนต์ที่ออกแบบเองให้เป็นตัวอย่างในการดราฟตัวอักษร

อาจารย์ได้สอนวิธีการดราฟตัวอักษรและให้นักศึกษาฝึกและทำตามอาจารย์ ซึ่งในเวลาดราฟงานจะต้องเขียนตามรูปร่างแบบตัวอักษร ตัวอักษรต้องมีการจัดเรียงตัวใหญ่ตัวเล็ก การทำงานต้องตรวจดูงานให้เรียบร้อย ล็อกเลเยอร์ไว้แล้วค่อยเซฟงาน เมื่อเราเปิดงานขึ้นมาใหม่นั้้นจะสามารถแก้ไขงานได้

งานที่ได้รับมอบหมาย

      - ดราฟโครงสร้างตัวอักษร สระ วรรณยุกต์มาให้ครบทุกตัวอักษร
      - นำโครงสร้างที่ดราฟเสร็จแล้วมาเปลี่ยน Stroke ให้แตกต่างกันคนละ 5 แบบ เซฟเป็นไฟล์ Ai และ JPG ก่อนเซฟงานให้เขียนชื่อตัวเอง+ชื่อกลุ่มเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย เมื่อเซฟงานเสร็จแล้วให้ส่งงานไปไว้ที่ไดรฟ์
      - ให้ทำรายงานกลุ่มว่าจะใช้ฟ้อนต์ตัวไหนที่จะนำมาเป็นชื่อกลุ่มและจะทำอะไรขายในงาน Gift on the moon 2013 แล้วปริ้นท์งานใส่กระดาษ A4 เข้าเล่มให้เรียบร้อย

ตัวอย่างฟ้อนต์ที่อาจารย์ให้ดูเป็นตัวอย่างในการทำงาน


ขอขอบคุณอาจารย์ประชิด ทิณบุตร

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดราฟโครงสร้างแกนตัวอักษรภาษาอังกฤษ


งานที่ได้รับมอบหมาย

ดราฟโครงสร้างแกนจากฟ้อนต์ CRU-Lanchand เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z ตัวพิมพ์ใหญ่และ a-z ตัวพิมพ์เล็กขนาด A3



วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่สี่ 26/11/2556


      Download โปรแกรม Python Download จะต้องใช้ควบคู่กับโปรแกรม Fontlab 

      อาจารย์ได้อธิบายการแก้ไข การจัดหน้าบล็อก การใส่สีตัวอักษรให้สวยงาม ปรับตัวอักษร (แปลข่าว) การใส่เลขที่หน้าจัดให้เสมอกัน (จัดตัวอักษร) การย่อหน้า 
      
   ตัวอย่างตัวอักษรที่อาจารย์ได้ออกแบบไว้เป็นตัวอย่าง ขั้นแรกเราต้องร่างแบบลงในสมุดกราฟก่อนแล้วถ่ายรูปเพื่อนำไปดราฟในโปรแกรม Allustrator ซึ่งตัวอักษรต้องมีความเหมือนกันทั้งหมด ในเวลาขึ้นแบบต้องมี Guide เสมอ ในการออกแบบตัวอักษรจะมี Shape ดึง Guide ออกมาแล้วค่อยหาสัดส่วน เวลาทำงานเราจะได้ Master เอาไว้

การออกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษต้องเอาตัว U เป็นตัวตั้งและภาษาไทยจะต้องเอา บ เป็นตัวตั้ง

  ให้ไปศึกษาหลักการออกแบบที่ถูกต้องและเข้าไปศึกษาที่เว็บ http://thaifont.info/ ดูสัดส่วนในการออกแบบ Font แบบ Serif และ Sans Serif นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าไป Search ใน Google เป็นตัวอย่างได้

      อาจารย์ได้ตรวจงานออกแบบฟ้อนต์กลุ่มและเมื่อเวลาการส่งงานไปที่ไดร์ฟจะต้องเป็นไฟล์ Ai เท่านั้น ไม่ใช่ Jpg. ให้ไปแก้ไขงาน โดยภายในกลุ่มจะต้องแบ่งงาน แบ่งหน้าที่กัน แบ่งความรับผิดชอบกันตามประเภทฟ้อนต์ คือ Serif และ Sans Serif ว่าภายในกลุ่มใครจะทำประเภทไหน จากนั้นโพสต์ลงในบล็อกกลุ่มให้เรียบร้อย